156ชาติทั่วโลกลงนามโครงการWHOแจกจ่ายวัคซีนโควิด-19อย่างยุติธรรม แต่สหรัฐฯ,จีนไม่เข้าร่วม
มีราว 156 ชาติทั่วโลกที่เข้าร่วมโครงการแจกจ่ายวัคซีนโควิด-19 ที่จะผลิตออกมาในอนาคตอย่างยุติธรรม พันธมิตรที่นำโดยองค์การอนามัยโลก(WHO)เปิดเผยในวันจันทร์(21ก.ย.) แต่ 2 มหาอำนาจอย่าง จีนและสหรัฐฯ กลับไม่ร่วมลงนาม
รัฐบาลของประธานาธิบดีโดนัลด์ ได้เซ็นสัญญาจัดหาวัคซีนในอนาคตผ่านข้อตกลงทวิภาคีต่างๆนานา ก่อเสียงวิพากษ์วิจารณ์และกล่าวหาว่ามีพฤติกรรมเห็นแก่ตัวที่เป็นอัตรายแก่บรรดาประเทศยากจนทั้งหลาย
ส่วน จีน จุดที่ไวัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่อุบัติขึ้น ก็ไม่ได้เป็นหนึ่งในบรรดาประเทศร่ำรวย 64 ชาติที่เข้าร่วมโครงการที่เรียกว่า Covax ซึ่งมีแผนแจกจ่ายวัคซีน 2,000 ล้านโดสแก่ทั่วโลกภายในปี 2021 โดยเป้าหมายลำดับต้นๆต่อเหล่าเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและกลุ่มคนอ่อนแอ อย่างไรก็ตามทางเจ้าหน้าที่ของพันธมิตรเผยว่าเวลานี้อยู่ระหว่างการเจรจากับปักกิ่ง
โครงการนี้จะคิดเป็นราวๆ 2 ใน 3 ของประชากรโลก จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกและพันธมิตรวัคซีน GAVI ซึ่งเผยรายชื่อประเทศผู้ร่วมลงนาม หลังเส้นตายสำหรับคำสัญญาแบบมีข้อผูกพันหมดลงไปเมื่อวันศุกร์(18ก.ย.)
วัคซีนโควิด-19 หลายสิบตัวอยู่ระหว่างการทดสอบ ในความพยายามต่อสู้กับไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ที่แพร่เชื้อสู่ประชากรโลกแล้วราวๆ 31 ล้านคนและคร่าชีวิตแล้วเกือบ 1 ล้านคน โดย 1 ใน 5 อยู่ในสหรัฐฯ
"Covax จะช่วยมอบวัคซีนปริมาณมากที่สุดและกระจายวัคซีนได้กว้างขวางที่สุดแก่คนทั่วโลก" เทดรอส แอดฮานอม เกรเบเยซุส ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลกกกล่าวระหว่างแถลงทางไกล "มันไม่ใช่การกุศล แต่มันเพื่อประโยชน์ของทุกประเทศ เราจะอัปปางหรือว่ายน้ำไปด้วยกัน มันไม่ใช่แค่สิ่งที่ถูกต้องที่ต้องทำ แต่มันเป็นสิ่งฉลาดที่ต้องทำด้วย"
บรรดาประเทศร่ำรวยบางชาติมีท่าทีไม่สู้เต็มใจเข้าร่วมโครงการ Covax ตอกย้ำให้เห็นถึงความท้าทายของการแจกจ่ายวัคซีนอย่างเท่าเทียมทั่วโลก อย่างไรก็ตามทางพันธมิตรวัคซีน คาดหมายว่าจะมีประเทศมั่งคั่งอื่นๆ 38 ชาติ เข้าร่วมความคิดริเริ่มนี้ในอีกไม่กี่วันข้างหน้า
พันธมิตรวัคซีนระบุว่าพวกเขาได้รับคำสัญญาบริจาคเงินแล้วกว่า 1,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สำหรับการวิจัยและพัฒนาวัคซีน แต่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องได้อีก 700-800 ล้านดอลลาร์
ทั้งนี้พันธมิตรวัคซีนไม่ได้ระบุว่ามีประเทศไหนบ้างที่มอบเงินสนับสนุน แต่ไม่ขอรับวัคซีนจากโครงการ แต่ที่ผ่านมา ฝรั่งเศสและเยอรมนี บอกว่าพวกเขาจะรับวัคซีนผ่านโครงการจัดหาร่วมของยุโรปเท่านั้น
ปัจจุบันมีวัคซีนมากกว่า 150 ตัวที่อยู่ระหว่างการพัฒนาและทดลองทั่วโลก โดยในนั้นมีอยู่ 38 ตัวที่อยู่ในขั้นทดสอบกับมนุษย์แล้ว
(ที่มา:รอยเตอร์)
รัฐบาลของประธานาธิบดีโดนัลด์ ได้เซ็นสัญญาจัดหาวัคซีนในอนาคตผ่านข้อตกลงทวิภาคีต่างๆนานา ก่อเสียงวิพากษ์วิจารณ์และกล่าวหาว่ามีพฤติกรรมเห็นแก่ตัวที่เป็นอัตรายแก่บรรดาประเทศยากจนทั้งหลาย
ส่วน จีน จุดที่ไวัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่อุบัติขึ้น ก็ไม่ได้เป็นหนึ่งในบรรดาประเทศร่ำรวย 64 ชาติที่เข้าร่วมโครงการที่เรียกว่า Covax ซึ่งมีแผนแจกจ่ายวัคซีน 2,000 ล้านโดสแก่ทั่วโลกภายในปี 2021 โดยเป้าหมายลำดับต้นๆต่อเหล่าเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและกลุ่มคนอ่อนแอ อย่างไรก็ตามทางเจ้าหน้าที่ของพันธมิตรเผยว่าเวลานี้อยู่ระหว่างการเจรจากับปักกิ่ง
โครงการนี้จะคิดเป็นราวๆ 2 ใน 3 ของประชากรโลก จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกและพันธมิตรวัคซีน GAVI ซึ่งเผยรายชื่อประเทศผู้ร่วมลงนาม หลังเส้นตายสำหรับคำสัญญาแบบมีข้อผูกพันหมดลงไปเมื่อวันศุกร์(18ก.ย.)
วัคซีนโควิด-19 หลายสิบตัวอยู่ระหว่างการทดสอบ ในความพยายามต่อสู้กับไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ที่แพร่เชื้อสู่ประชากรโลกแล้วราวๆ 31 ล้านคนและคร่าชีวิตแล้วเกือบ 1 ล้านคน โดย 1 ใน 5 อยู่ในสหรัฐฯ
"Covax จะช่วยมอบวัคซีนปริมาณมากที่สุดและกระจายวัคซีนได้กว้างขวางที่สุดแก่คนทั่วโลก" เทดรอส แอดฮานอม เกรเบเยซุส ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลกกกล่าวระหว่างแถลงทางไกล "มันไม่ใช่การกุศล แต่มันเพื่อประโยชน์ของทุกประเทศ เราจะอัปปางหรือว่ายน้ำไปด้วยกัน มันไม่ใช่แค่สิ่งที่ถูกต้องที่ต้องทำ แต่มันเป็นสิ่งฉลาดที่ต้องทำด้วย"
บรรดาประเทศร่ำรวยบางชาติมีท่าทีไม่สู้เต็มใจเข้าร่วมโครงการ Covax ตอกย้ำให้เห็นถึงความท้าทายของการแจกจ่ายวัคซีนอย่างเท่าเทียมทั่วโลก อย่างไรก็ตามทางพันธมิตรวัคซีน คาดหมายว่าจะมีประเทศมั่งคั่งอื่นๆ 38 ชาติ เข้าร่วมความคิดริเริ่มนี้ในอีกไม่กี่วันข้างหน้า
พันธมิตรวัคซีนระบุว่าพวกเขาได้รับคำสัญญาบริจาคเงินแล้วกว่า 1,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สำหรับการวิจัยและพัฒนาวัคซีน แต่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องได้อีก 700-800 ล้านดอลลาร์
ทั้งนี้พันธมิตรวัคซีนไม่ได้ระบุว่ามีประเทศไหนบ้างที่มอบเงินสนับสนุน แต่ไม่ขอรับวัคซีนจากโครงการ แต่ที่ผ่านมา ฝรั่งเศสและเยอรมนี บอกว่าพวกเขาจะรับวัคซีนผ่านโครงการจัดหาร่วมของยุโรปเท่านั้น
ปัจจุบันมีวัคซีนมากกว่า 150 ตัวที่อยู่ระหว่างการพัฒนาและทดลองทั่วโลก โดยในนั้นมีอยู่ 38 ตัวที่อยู่ในขั้นทดสอบกับมนุษย์แล้ว
(ที่มา:รอยเตอร์)
https://mgronline.com/around/detail/9630000096878