ข้อมูลเกี่ยวข้องกับการทำยา ชุดตรวจโรค และวัคซีนจากใบพืช

เทคโนโลยีนี้มีมามากกว่า 15 ปีแล้ว และทำสำเร็จในการผลิตยาในการรักษาอีโบลา ยกตัวอย่างเช่นรักษาคนอเมริกันที่ติดเชื้อจากแอฟริกา และกลับมาที่สหรัฐฯใช้เทคนิคเดียวกันและใช้ในแอฟริกาด้วย

สิ่งที่ได้จากใบยา ไม่ใช่ใช้ทำเป็นยา monoclonal antibody สำหรับรักษาโรคติดเชื้อต่างๆเท่านั้น ยังทำเป็นยารักษามะเร็งต่างๆ และสามารถทำเป็นโปรตีน ที่พัฒนาเป็นชุดตรวจหาเชื้อโรคต่างๆและรวมทั้งวัคซีน

ในปี 2011 และ 2012 ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ สภากาชาดไทยได้ทุนสนับสนุนจากกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯในการเตรียมแผนรับมือโรคอุบัติใหม่ ศ.นพ.Michael Callahan Harvard และ DARPA ได้แสดงให้เห็นถึงการเตรียมพร้อมการทำยาและวัคซีนจากใบยาพืช

 

ซึ่งกระบวนการในการสกัดให้บริสุทธิ์ไม่ได้ยุ่งยากและไม่ได้เปลี่ยนโครงสร้างของโปรตีนใดๆ โดยที่ในปัจจุบันประเทศไทยก็สามารถทำได้ และถูก เร็ว ไม่ยุ่งยาก ทุกขั้นตอนจนเป็นโปรตีนบริสุทธิ์ขึ้นที่จะนำมาใช้ในมนุษย์

นักวิทยาศาสตร์ของไทยสองท่าน ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ และ ดร.วรัญญู พูลเจริญ กับทีมวิจัยที่ได้ทำการพัฒนาการผลิตยา และวัคซีน และโปรตีนจากใบยาพืช มีประสบการณ์มามากกว่า 12 ปี และรายงานในวารสารระดับโลกเกี่ยวข้องกับการผลิตเซรุ่มที่ฉีดแผลเมื่อถูกหมาบ้ากัด รวมยาที่ต่อต้านเชื้อไวรัส มือเท้าปาก EV 71 (รายละเอียด วารสาร ตีพิมพ์ ภายใต้ชื่อ waranyoo phoolcharoen)

และใบยาพืชดังกล่าว ได้สามารถผลิตยา monoclonal antibodies ต่อโควิด-19 ได้แล้ว ลักษณะเหมือนกับที่พยายามจะใช้พลาสมาจากคนที่หายจากการเป็นโรคและเอามารักษาคนติดเชื้อ รวมทั้งชุดตรวจ rapid test จากการตรวจเลือดปลายนิ้ว

ซึ่งจะเป็น การตอบโจทย์ว่า...ทำอย่างไรตรวจโควิด-19 เร็ว ถูก รู้ว่าติด ทั้งนี้ประกอบไปด้วยการตรวจแบบรวดเร็ว rapid test ก่อน ถ้าบวกยืนยันด้วย การตรวจมาตรฐานใน

โดยที่ขั้นตอนประกอบไปด้วย

1-ตรวจในเลือด ถ้าบวก รู้ว่าติดไป แล้วหาต่อว่าปล่อยเชื้อได้หรือไม่ คือแยงจมูก พีซีอาร์

2-ผู้สัมผัสโรค ต้องทราบว่าแยงจมูกครั้งเดียวสรุปไม่ได้ ต้องแยงไปแยงมา แยงหลายครั้ง จนจบ 14 วัน และยังหลุดตรวจไม่เจอได้

ราคา 2,000-7,000 บาทต่อครั้ง แม้จะมีรัฐจ่าย แต่เพียงผู้ต้องขังรายเดียว ระยองรายเดียว ผู้ต้องขังรายเดียวต้องแยงกี่ร้อยคน คนละหลายครั้ง

3-อยากรู้ว่า ผู้สัมผัสกับผู้ต้องขัง ติดหรือไม่ เจาะเลือดด้วยวิธีมาตรฐาน เลือดบวกเริ่มตั้งแต่ 4 วันขึ้นไป หลังติดเชื้อและจะซ้ำอีกในวันที่ 7 ก็ได้ แต่การเจาะเลือดมาตรฐานต้องนำเลือดมาตรวจที่ห้องปฏิบัติการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ สภากาชาดไทย ซึ่งต้องมีการเคลื่อนย้ายตัวอย่าง แม้การตรวจจะได้ทราบผลภายใน 3 ชั่วโมงก็ตาม

ดังนั้น เจาะเลือดคัดกรองเบื้องต้นปลายนิ้ว rapid test เห็นผล 2 นาที และถ้าบวกยืนยันด้วยการตรวจเลือดมาตรฐาน ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ สภากาชาดไทย รพ.จุฬาฯ คณะแพทยศาสตร์ รู้ผลใน 3 ชั่วโมง

4-การเจาะเลือด ด้วยวิธีมาตรฐานของศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่มีมาตั้งแต่กุมภาพันธ์ ด้วยการตรวจ ไม่หลุด ถ้าติดเชื้อตั้งแต่ 4-5 วันไปแล้ว

5-ข้อมูลได้นำเรียนมาก่อนหน้าหลายครั้ง และในที่ประชุม ผู้บริหารระดับสูง กระทรวงสาธารณสุข ทุก กรม ทุกอธิบดี ผอ.สำนัก ผู้ตรวจราชการ วันที่ 3 กันยายน 2563 และส่งรายละเอียดต่อกรรมการ ที่ปรึกษาโควิด กระทรวง และรายละเอียด หลายครั้งก่อนหน้า มาตลอด

“ผู้เชี่ยวชาญ ข้าราชการ” มีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อสาธารณชน และเศรษฐกิจของประเทศ ทำดีแล้ว เราทำดียิ่งกว่าได้แน่นอน ในเมื่องบประเทศร่อยหรอ เราต้องช่วยกันประหยัด แต่มั่นใจด้วยวิธีตรงที่สุด

คงต้องเริ่มแล้วครับ ให้ความมั่นใจคนไทย ด้วยความรู้ และการนำมาปฏิบัติอย่างถูกต้อง

หมอไม่ได้มีผลประโยชน์ใดๆทั้งสิ้นกับบริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม ซึ่งเป็นบริษัทสตาร์ตอัพของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ถือเป็นหน้าที่ของศูนย์โรคอุบัติใหม่ สภากาชาดไทยและจุฬาฯที่ต้องทำการประเมินกระบวนการที่จะสามารถป้องกันคนไทยจากโรคระบาดต่างๆได้และถูก

โดยที่คนไทย “ต้อง” ได้ประโยชน์ที่สุดจากการพัฒนา ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ถึงปลายน้ำ ในประเทศไทย ไม่ติดสิทธิบัตรใดๆ

นำเรียนทุกท่าน เพื่อคนไทยทุกคน ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ คณะแพทยศาสตร์ สภากาชาดไทย (TRC EID Health science Centre) ศูนย์ความร่วมมือ องค์การอนามัยโลก ด้านค้นคว้าและอบรมไวรัสสัตว์สู่คน (WHO collaborating Centre for Research and Training on Viral Zoonosis)

https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/1938216

 
 

เลือด