วัคซีนยังใช้ได้ไหม เมื่อไวรัสกลายพันธุ์?

เมื่อไวรัสโคโรนามีการกลายพันธุ์แล้วจะส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของวัคซีนหรือไม่

NYT รายงานหลังจากที่สหราชอาณาจักรออกมาเตือนว่าพบการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ซึ่งแพร่กระจายอย่างรวดเร็วในลอนดอนและพื้นที่โดยรอบ ส่งผลให้รัฐบาลสหราชอาณาจักรต้องออกมาตรการล็อกดาวน์ที่เข้มงวดที่สุดนับตั้งแต่เดือนมีนาคม

โดยนายกรัฐมนตรีบอริส จอห์นสันกล่าวว่า "เมื่อไวรัสเปลี่ยนวิธีการโจมตี เราก็ต้องเปลี่ยนวิธีการป้องกัน"

 

เช่นเดียวกับในแอฟริกาใต้ซึ่งมีการกลายพันธุ์ของไวรัสโคโรนาเช่นเดียวกัน โดยนักวิทยาศาสตร์ระบุว่าพบไวรัสดังกล่าวในกลุ่มตัวอย่างมากถึง 90% จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดตั้งแต่กลางเดือนพฤศจิกายน

ส่งผลให้ประชาชนจำนวนมากเกิดความกังวลว่าไวรัสกลายพันธุ์อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพของวัคซีนต้านโรคโควิด-19 ที่เพิ่งแจกจ่ายให้แก่ประชาชนเมื่อไม่นานมานี้

เช่นเดียวกับในแอฟริกาใต้ซึ่งมีการกลายพันธุ์ของไวรัสโคโรนาเช่นเดียวกัน โดยนักวิทยาศาสตร์ระบุว่าพบไวรัสดังกล่าวในกลุ่มตัวอย่างมากถึง 90% จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดตั้งแต่กลางเดือนพฤศจิกายน

ส่งผลให้ประชาชนจำนวนมากเกิดความกังวลว่าไวรัสกลายพันธุ์อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพของวัคซีนต้านโรคโควิด-19 ที่เพิ่งแจกจ่ายให้แก่ประชาชนเมื่อไม่นานมานี้

ดร. ดีปตี กัวดาซานี นักวิจัยด้านสาธารณสุขคลินิกจากมหาวิทยาลัยควีนแมรี เผยว่าในตอนแรกนักวิทยาศาสตร์มองว่าไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ไม่น่ารอดพ้นจากการตอบสนองของภูมิคุ้มกันที่เกิดจากวัคซีน แต่เป็นที่ชัดเจนมากในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาว่าการกลายพันธุ์อาจเกิดขึ้นได้ เนื่องจากมีการฉีดวัควีนจำนวนมาก และคิดว่าการกลายพันธุ์จะเป็นเรื่องธรรมดามากขึ้น

ทั้งนี้ การฉีดวัคซีนของผู้คนหลายล้านคนเป็นการบังคับให้ไวรัสต้องปรับตัว และการกลายพันธุ์จะช่วยหลีกเลี่ยงหรือต่อต้านการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน และไวรัสมีการปรับตัวอยู่ตลอดเวลา

อย่างไรก็ตาม เอกสารล่าสุดหลายฉบับแสดงให้เห็นว่าไวรัสโคโนาสามารถพัฒนาเพื่อหลีกเลี่ยงภูมิคุ้มกัน แต่โชคดีที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมนุษย์เป็นศัตรูที่น่ากลัวกว่ามาก กล่าวคือไวรัสจะหลบหนีการป้องกันของร่างกายได้ยากมากแม้ว่าจะมีรูปแบบต่างๆ มากมายก็ตาม

เอ็มมา ฮอดครอฟต์ นักวิจัยด้านสาธารณสุขระดับโมเลกุลจากมหาวิทยาลัยเบิร์น ในสวิตเซอร์แลนด์ ระบุว่าการฉีดวัคซีนให้ได้ประมาณ 60% ของประชากรทั้งหมดภายในเวลาประมาณหนึ่งปี และการรักษาจำนวนผู้ป่วยให้น้อยลง จะช่วยลดโอกาสที่ไวรัสจะกลายพันธุ์ได้อย่างมีนัยสำคัญ ถึงกระนั้นนักวิทยาศาสตร์จะต้องติดตามการพัฒนาของไวรัสอย่างใกล้ชิดเพื่อตรวจหาการกลายพันธุ์ที่อาจยับยั้งประสิทธิภาพของวัคซีน

ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญหลายคนยืนยันว่าต้องใช้เวลาหลายปีไม่ใช่เพียงไม่กี่เดือนกว่าที่ไวรัสจะมีวิวัฒนาการพอที่จะทำให้วัคซีนในปัจจุบันไร้ประสิทธิภาพ

เจสซี่ บลูม นักชีววิทยาวิวัฒนาการจากศูนย์วิจัยมะเร็งเฟร็ด ฮัตชินสัน ประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า "แน่นอนว่าการการพันธุ์เหล่านี้กำลังแพร่กระจาย และแน่นอนว่าบรรดานักวิทยาศาสตร์ต้องตรวจสอบการกลายพันธุ์เหล่านี้รวมถึงผลกระทบ"

อย่างไรก็ตามเธอยืนยันว่า "ไม่ควรกังวลว่าการกลายพันธุ์เพียงครั้งเดียวจะทำให้ภูมิคุ้มกันและแอนติบอดีทั้งหมดไร้ประโยชน์ เพราะนั่นเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลาหลายปี และต้องมีการสะสมของการกลายพันธุ์ของไวรัสหลายๆ ครั้ง แม้แต่ไวรัสไข้หวัดใหญ่ยังต้องใช้เวลา 5 ถึง 7 ปีกว่าที่จะกลายพันธุ์จนสามารถยับยั้งการป้องกันของภูมิคุ้มกันทั้งหมดได้"

เช่นเดียวกับ เทรเวอร์ เบดฟอร์ด นักชีววิทยาด้านวิวัฒนาการที่ศูนย์วิจัยมะเร็งเฟร็ด ฮัตชินสัน ในซีแอตเทิล ที่ระบุว่าวัคซีนยังตอบสนองต่อระบบภูมิคุ้มกันอย่างมาก ดังนั้นไวรัสโคโรนาอาจต้องมีการกลายพันธุ์หลายครั้งในช่วงหลายปี ก่อนที่จะจำเป็นต้องปรับปรุงวัคซีน และประชาชนไม่ควรตื่นตระหนก

ผู้เชี่ยวชาญคนอื่นๆ ยังได้แนะนำว่าศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค รวมทั้งหน่วยงานอื่นๆ ของรัฐควรจัดตั้งระบบระดับชาติเพื่อเชื่อมโยงฐานข้อมูลของไวรัส เช่น มีกรณีที่ผู้ป่วยติดเชื้อแม้ว่าจะได้รับการฉีดวัคซีนหรือไม่ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อนักวิทยาศาสตร์และรัฐบาลในการจัดเตรียมระบบต่างๆ เพื่อรับมือกับไวรัสโคโรนาต่อไป

Photo by GIL COHEN-MAGEN / AFP

 
 
 

 

https://www.posttoday.com/world/640818