อนาคตของการผลิตยาใช้รักษาบาดแผล

ในแต่ละปีมีกุ้งและปูจำนวน 6-8 ล้านตัน กลายเป็นขยะในโลก และใช้เวลานานในการย่อยสลายตามธรรมชาติ ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการที่ดีพอจะทำให้เปลือกของครัสเตเชียน (crustaceans) หรือสัตว์น้ำที่มีเปลือกแข็งเหล่านี้กลับมาใช้ใหม่ แต่มีความเป็นไปได้ที่จะสกัด ไคตินออกจากเปลือกของพวกมัน ทว่าประโยชน์ก็มีเพียงเล็กน้อยเพราะไม่ละลายน้ำ

 

ล่าสุดผู้เชี่ยวชาญด้านเคมีจากวิทยาลัยวิทยาศาสตร์ธรรมชาติและสาธารณสุขจากมหาวิทยาลัยทาลลินน์ ในเอสโตเนีย เผยว่า หลังจากใช้เวลา 3 ปี ร่วมกับนักวิจัยจากนอร์เวย์ โรมาเนีย และกรีซ ศึกษาว่าจะทำให้สารตกค้างจากอุตสาหกรรมของสัตว์น้ำมีเปลือกแข็งอย่างไคโตซาน (Chitosan) ใช้งานได้ดีขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้นได้อย่างไร เพื่อจะนำไปใช้ในทางการแพทย์ โดยเฉพาะการช่วยรักษาแผลไฟไหม้ ทีมอธิบายว่า การพัฒนาไคโตซาน ที่เป็นสารธรรมชาติอยู่ในเปลือกแข็งของสัตว์น้ำและมีคุณสมบัติต้านเชื้อแบคทีเรีย อาจมีประโยชน์อย่างมากต่อการรักษาแผลไฟไหม้ที่การติดเชื้อเกิดขึ้นได้ง่าย และการรักษาต้องใช้เวลานาน

ไคโตซานเคยถูกนำมาใช้ในการรักษาผู้บาดเจ็บ จากสงครามอิรักและอัฟกานิสถาน ดังนั้น การปรับปรุง คุณสมบัติของไคโตซานเพื่อใช้รักษาแผลในอนาคต นักวิจัยจึงมุ่งมั่นที่จะผลิตแผ่นคล้ายเจลซึ่งผสมสารต่างๆ สามารถวางไว้บนบาดแผลได้โดยตรง.

 https://www.thairath.co.th/news/foreign/1864536