งานประชุมวิชาการ หัวข้อ “Critical care Pharmacotherapy 2020” Pharmacogenomics and drug metabolism in clinical practice and how to choose alternative choice
ชื่อการประชุม | งานประชุมวิชาการ หัวข้อ “Critical care Pharmacotherapy 2020” Pharmacogenomics and drug metabolism in clinical practice and how to choose alternative choice | |
สถาบันหลัก | คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
รหัสกิจกรรม | 1017-2-000-011-06-2563 | |
สถานที่จัดการประชุม | ||
วันที่จัดการประชุม | 11 สิงหาคม 2563 | |
ผู้จัดการประชุม | ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ | |
กลุ่มเป้าหมาย | ||
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง | 2 หน่วยกิต |
หลักการและเหตุผล
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์เป็นสถานที่สำหรับให้บริการด้านสุขภาพให้กับผู้ป่วย โดยมุ่งเน้นการส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูภาวะความเจ็บป่วยทั้งทางกายและจิตใจ เพื่อให้กระบวนการรักษาผู้ป่วยเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดความปลอดภัยสูงสุด โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นเนลเป็นโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ที่เป็นผู้นำด้านวิทยาการการรักษาด้านการแพทย์ ให้การบริการแก่ผู้ป่วยที่มีภาวะเจ็บป่วยที่ยุ่งยากซับซ้อน รองรับผู้ป่วยทั้งในและต่างประเทศเป็นจำนวนมาก โดยรับผู้ป่วยนอกเฉลี่ย 3,000 คนต่อวัน และรับผู้ป่วยในเฉลี่ย 400-คนต่อวัน หอผู้ป่วยภาวะวิกฤต 5 หอผู้ป่วย รองรับผู้ป่วยระยะวิกฤตต่อวันถึง 70 คน เพื่อเพิ่มคุณภาพและยกระดับมาตรฐานการให้บริการเภสัชกรรม ทำให้ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง ที่ใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูงซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของเภสัชกรได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรมอย่างครบถ้วน สามารถใช้ยาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม บนพื้นฐานของข้อมูลที่ทันสมัย และเชื่อถือได้ อีกทั้งเภสัชกรประจำหอผู้ป่วยจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดูแลผู้ป่วยเป็นองค์รวม มองผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางและให้การดูแลผู้ป่วยแบบครอบคลุมเพื่อผลประโยชน์สูงสุดจากการใช้ยาและมีคุณภาพชีวิตที่ดี เพื่อให้ภารกิจเหล่านี้เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เภสัชกรประจำหอผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการฝึกอบรมความรู้เกี่ยวกับโรคทางอายุรศาสตร์และการบำบัดรักษาด้วยยา เพื่อให้มีองค์ความรู้ที่เป็นมาตรฐานสามารถดูแลผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยสูงสุด
ฝ่ายเภสัชกรรมได้เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว อีกทั้งเป็นการเตรียมความพร้อมในการรองรับวิทยาการทางการแพทย์และการรักษาที่มีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาอย่างต่อเนื่องจึงได้จัดให้มีการอบรมเพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะในทางเภสัชบำบัดผู้ป่วยอายุรกรรมและผู้ป่วยวิกฤตสำหรับเภสัชกร นอกจากผู้ป่วยได้รับความปลอดภัยจากการใช้ยาแล้ว ยังช่วยส่งเสริมบทบาทเภสัชกรคลินิกในการทำงานรวมกับสหสาขาวิชาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
ฝ่ายเภสัชกรรมได้เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว อีกทั้งเป็นการเตรียมความพร้อมในการรองรับวิทยาการทางการแพทย์และการรักษาที่มีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาอย่างต่อเนื่องจึงได้จัดให้มีการอบรมเพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะในทางเภสัชบำบัดผู้ป่วยอายุรกรรมและผู้ป่วยวิกฤตสำหรับเภสัชกร นอกจากผู้ป่วยได้รับความปลอดภัยจากการใช้ยาแล้ว ยังช่วยส่งเสริมบทบาทเภสัชกรคลินิกในการทำงานรวมกับสหสาขาวิชาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
วัตถุประสงค์
1. สามารถเสนอแนะแนวทางการบำบัดรักษาด้วยยาในการบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยวิกฤต ได้แก่ การปรับขนาดยาในผู้ป่วยที่ได้รับ Renal replacement therapy, Management of pain agitation and sedation, การใช้ยา Antipsychotics and antidepressants, Anticoagulants management, pharmacogenomics and drug metabolism
2. สามารถประเมินภาวะโภชนาการและความต้องการพลังงานของผู้ป่วยวิกฤติเพื่อแนะนำสารอาหารที่ให้ทางหลอดเลือดดำได้อย่างเหมาะสมกับผู้ป่วยในสภาวะโรคต่างๆ
3. ติดตาม ประเมินผลการรักษาในผู้ป่วยวิกฤตในสภาวะต่างๆ ได้แก่ การปรับขนาดยาในผู้ป่วยที่ทำการรักษา Renal replacement therapy, Management of pain agitation and sedation, การใช้ยา Antipsychotics and antidepressants, Anticoagulants monitoring, pharmacogenomics and drug metabolism
2. สามารถประเมินภาวะโภชนาการและความต้องการพลังงานของผู้ป่วยวิกฤติเพื่อแนะนำสารอาหารที่ให้ทางหลอดเลือดดำได้อย่างเหมาะสมกับผู้ป่วยในสภาวะโรคต่างๆ
3. ติดตาม ประเมินผลการรักษาในผู้ป่วยวิกฤตในสภาวะต่างๆ ได้แก่ การปรับขนาดยาในผู้ป่วยที่ทำการรักษา Renal replacement therapy, Management of pain agitation and sedation, การใช้ยา Antipsychotics and antidepressants, Anticoagulants monitoring, pharmacogenomics and drug metabolism
คำสำคัญ
วิธีสมัครการประชุม
ลงทะเบียนโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยแจ้งผ่านผู้จัดการแผนกเภสัชกรรม หรือสอบถามเพิ่มเติมที่ ภญ.พรจิตร เอี่ยมอุไร แผนกเภสัชกรรมคลินิก โทร. 0-2011-2424, 0918123030 e-mail: Pornchit@bumrungrad.com