ก้าวทันเครื่องสำอาง 4: Impact of cosmetic sustainability and new era of active ingredients
>หลักการและเหตุผล
ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพที่มีศักยภาพในการแข่งขันเชิงการค้าสูงโดยในปี พ.ศ. 2565 มีรายงานว่า เครื่องสำอางเป็นอีกหนึ่งสินค้าที่สำคัญของประเทศไทยที่สร้างรายได้เข้าประเทศโดยมีมูลค่าถึง 8.27 หมื่นล้านบาทและมีแนวโน้มของมูลค่าเพิ่มขึ้น 15.6% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา แสดงถึงสถานการณ์ต่าง ๆ เริ่มกลับมาดีขึ้นหลังจากสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลายลง นอกจากนี้ในช่วง 4 เดือนแรกของปี พ.ศ. 2566 ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางมีมูลค่าการส่งออกสูงถึง 2.82 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 11.9% เมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2565 และเพิ่มขึ้น 5.4% เมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2562 ก่อนสถานการณ์โควิด-19 จากข้อมูลดังกล่าวมีการคาดการณ์ว่าในปี พ.ศ. 2566-2567 แนวโน้มของการส่งออกของเครื่องสำอางไทยมีโอกาสขยายตัวต่อเนื่อง 12.4% และ 14.8% ตามลำดับ นอกจากนี้ทาง Krungthai COMPASS ได้ประเมินสถานการณ์ในอีก 6-7 ปี ข้างหน้าว่าตลาดเครื่องสำอางมีแนวโน้มเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งสอดคล้องกับรายงานด้านการตลาดของ Grand View Research ที่คาดการณ์ว่าตลาดเครื่องสำอางในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2573 จะมีมูลค่ากว่า 3.23 แสนล้านบาท และมีอัตราเติบโตเฉลี่ย 5.0% ต่อปี (พ.ศ. 2565 –พ.ศ.2573) หรือเพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2565 ประมาณ 1.5 เท่า
จากกระแสของการรักษ์โลกของผู้บริโภคที่มีมากขึ้นทั่วโลก โดยแนวโน้มดังกล่าวส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมเครื่องสำอาง ส่งผลให้ผู้ประกอบการด้านเครื่องสำอางเกิดความตระหนักในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น อีกทั้งข้อกำหนดด้านกฎหมายของเครื่องสำอางของสหภาพยุโรปอาเซียน และประเทศไทย ที่มีการกำหนดสารที่ใช้ทางเครื่องสำอางที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น เช่น การควบคุมการใช้สารในกลุ่ม microplastics และการใช้สารกันแดดที่เป็นมิตรกับปะการังเป็นต้นนอกจากนี้แนวโน้มของการดูแลสุขภาพที่เพิ่มมากขึ้นของผู้บริโภคมีการนำสารที่ใช้ทางโภชนเภสัชและสารสำคัญที่ได้จากธรรมชาติมาเป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางมากขึ้น และความก้าวหน้าทางด้านปัญญาประดิษฐ์ทำให้มีการนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้เพื่อหาสารที่ใช้ทางเครื่องสำอางและใช้ในการส่งเสริมด้านการตลาดเพิ่มมากขึ้นเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคให้เกิดความพึงพอใจสูงสุด
ดังนั้นสาขาเภสัชกรรมเทคโนโลยี ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญของการถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวโน้มของเครื่องสำอาง ข้อกำหนดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อช่วยเสริมสร้างศักยภาพของผู้ประกอบการผลิตเครื่องสำอางในประเทศเพื่อการแข่งขันในท้องตลาดและในระดับสากล และยังเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อคิดเห็นระหว่างผู้ประกอบการกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง ส่วนราชการ นักวิจัย และผู้สนใจอื่น ๆ ตลอดจนวิทยากรที่มีประสบการณ์เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
> วัตถุประสงค์
เพื่อให้
1. ผู้เข้าร่วมประชุมอัพเดทความรู้และแนวโน้มของตลาดเครื่องสำอางในปัจจุบัน นวัตกรรมและการพัฒนาสารสำคัญที่ใช้ในเครื่องสำอางในยุคปัจจุบัน
2. ผู้เข้าร่วมประชุมมีความเข้าใจในข้อกำหนดของเครื่องสำอางที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่รักษ์โลก (sustainability) และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
3. ผู้เข้าร่วมประชุมมีความเข้าใจในการเลือกใช้สาระสำคัญจากพืช (phytoactives) ไมโครไบโอม (microbiome) และโภชนเภสัช (nutraceuticals) ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง
4. ผู้ร่วมประชุมมีความเข้าใจและเทคนิคในการจำแนกประเภทของผิว (ผิวธรรมดาและผิวแพ้ง่าย) และเทคนิคที่ใช้ในการประเมินการแพ้และการระคายเคือง
5. ผู้เข้าร่วมประชุมและนักวิชาการมีการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างกัน
ค่าลงทะเบียนบรรยายบุคคลทั่วไป (ภายใน1 มิถุนายน2567) - ท่านละ4,500 บาท ค่าลงทะเบียนรวมเอกสารประกอบการประชุม (electronic file) อาหารกลางวัน และอาหารว่าง - ท่านละ 5,000 บาท ค่าลงทะเบียนรวมเอกสารประกอบการประชุม (รูปเล่มพิมพ์ขาว-ดำ) อาหารกลางวัน และอาหารว่าง สมัครพร้อมชำระเงินค่าลงทะเบียน โดยโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ สาขารามาธิบดี บัญชีเงินฝากออมทรัพย์เลขที่บัญชี 026-459192-4 ชื่อบัญชีก้าวทันเครื่องสำอางคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล การสมัคร online ทาง www.pharmacy.mahidol.ac.th/conference พร้อม scan หรือ fax ใบโอนเงินชำระค่าลงทะเบียน (ใบ pay in) ทางโทรสารหมายเลข 0-2644-4536 (ในวันประชุมโปรดนำใบนำฝากธนาคารตัวจริงมาด้วยเพื่อตรวจสอบ)
ที่มา
ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์ สภาเภสัชกรรม |
ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์ สภาเภสัชกรรม |
ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์ สภาเภสัชกรรม |
ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์ สภาเภสัชกรรม |
ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์ สภาเภสัชกรรม |
ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์ สภาเภสัชกรรม |