(Online) Happy Gut Happy Sleep

> หลักการและเหตุผลของโครงการ


เภสัชกรมีบทบาทสำคัญในการใช้บริบาล และส่งเสริมการเข้าถึงยาและบริการสุขภาพให้แก่ประชาชน ทั้งในบริบทของสถานพยาบาลและร้านขายยา เภสัชกรจึงมีความจำเป็นที่ต้องมีองค์ความรู้ที่ทันสมัย สามารถให้คำแนะนำในการเลือกใช้ยาหรือผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆ ที่ช่วยแก้ปัญหาให้กับประชาชน กลุ่มอาการที่พบได้บ่อยในปัจจุบันได้ก่ อาการที่เกี่ยวข้องกับทางเดินอาหาร และอาการเกี่ยวกับการนอนหลับ ซึ่งเป็นภาวะที่มีสาเหตุมาจากพฤติกรรมของประชากรในปัจจุบันที่มีความเร่งรีบในการใช้ชีวิต กดดันและเครียดจากการทำงาน ส่งผลให้เกิดสภาวะเครียดของอวัยวะ และสมดุลต่างๆ ในร่างกายทำให้ร่างกายสะสมกลายเป็นโรคหรือสภาวะเจ็บป่วยต่างๆ ได้แก่ โรคริดสีงดวงทวาร หรืออาการนอนไม่หลับ เภสัชกรจึงต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคและอาการของโรค หลักการเลือกใช้ยาที่มีประสิทธิภาพ สามารถแนะนำการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพของผู้ที่มาใช้บริการได้อย่างเหมาะสม
เภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้เล็งเห็นความสำคัญ และจัดให้มีการอบรมวิชาการ ในหัวข้อ Happy Gut Happy Sleep ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ (1) แนวทางการดูแลรักษาโรคริดสีดวงทวาร และแผลขอบทวาร (2) หลักการเลือกใช้ยารักษา และวิธีการใช้ยาอย่างถูกต้องและปลอดภัย (3) ภาวะเสียสมดุลจุลินทรีย์จากการใช้ยาปฏิชีวนะ ผลกระทบของภาวะเสียสมดุลจุลินทรีย์จากการใช้ยาปฏิชีวนะ (4) แนวทางการป้องกัน และลดความเสี่ยงจากภาวะเสียสมดุลจุลินทรีย์จากการใช้ยาปฏิชีวนะ(5) อาการแสดง และแนวทางการประเมินโรคนอนไม่หลับ (6) แนวทางการรักษาโรคนอนไม่หลับ และ กลไกการออกฤทธิ์และบทบาทของเมลาโทนินในการรักษาภาวะนอนไม่หลับ (7) บทบาทของเภสัชกรในการให้คำแนะนำการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพของผู้ที่มาใช้บริการได้อย่างเหมาะสม

>วัตถุประสงค์ของโครงการ


1 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคริดสีดวงทวาร และแผลขอบทวาร แนวทางการรักษาโรคและการเลือกใช้ยาอย่างเหมาะสม
2 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้เกี่ยวกับภาวะเสียสมดุลจุลินทรีย์จากการใช้ยาปฏิชีวนะ ผลกระทบของภาวะเสียสมดุลจุลินทรีย์จากการใช้ยาปฏิชีวนะ แนวทางการลดความเสี่ยงจากภาวะเสียสมดุลจุลินทรีย์จากการใช้ยาปฏิชีวนะ
3 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้เกี่ยวกับแนวทางการรักษาโรคนอนไม่หลับ กลไกการออกฤทธิ์และบทบาทของเมลาโทนินในการรักษาภาวะนอนไม่หลับ
4 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถประยุกต์ใช้คความรู้ให้คำแนะนำการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพของผู้ที่มาใช้บริการได้อย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นอาการที่เกี่ยวข้องกับทางเดินอาหาร หรือสภาวะเครียดที่ส่งผลต่อการนอน

> สมัครเข้าร่วม

> ที่มา  ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์ สภาเภสัชกรรม